โครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์
1. ชื่อโครงงาน
กล่องดินสอจากไม้ไอติม
2. ประเภทโครงงาน
โครงงานสิ่งประดิษฐ์
3. ผู้จัดทำโครงงาน นางสาวนิซูฮัยมี นามสกุล มะดาบู ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4 เลขที่ 32
4. ครูที่ปรึกษาโครงงาน อาจารย์รุสฮาญา มูเก็ม
5. ระยะเวลาดำเนินงาน 4 พฤศจิกายน.-30 ธันวาคม
6. แนวคิดที่มาและความสำคัญ
ในปัจจุบันขยะจากโรงเรียนทุกโรงเรียนมีทั้งขวดน้ำ
กระดาษและไม้ไอติมเป็นจำนวนมากเนื่องจากสะดวกต่อการใช้งาน หาง่าย
ขยะเหล่านี้จึงทำให้เกิดขยะมูลฝอย ซึ่งเป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและส่งผลต่อสุขภาพอนามัย
เพราะสาเหตุจากการเพิ่มประชากร การขยายตัวทางเศษรฐกิจนับเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อชุมชนและโรงเรียน
การกำจัดขยะโดยการเอาไปเผา
ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดมลพิษภาวะเรือนกระจกหรือภาวะโลกร้อนซึ่งต้องได้รับการแก้ไข
จากการสำรวจขยะบริเวณชุมชนและโรงเรียน
พบว่าขยะส่วนหนึ่งเป็นไม้ไอติม ดังนั้นผู้จัดทำโครงการ
การประดิษฐ์กล่องดินสอจากไม้ไอติม
เพื่อช่วยลดปัญหาขยะและเป็นการนำเอาของเหลือใช้มาทำให้มีค่า
ให้เกิดประโยชน์และทำให้ขยะคืนสู่สิ่งแวดล้อมที่ดีได้อีกด้วย
7.วัตถุประสงค์
1.
เพื่อประดิษฐ์ชิ้นงานจากสิ่งของเหลือใช้
2. เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
3. เพื่อฝึกสมาธิและความคิดสร้างสรรค์
4. เพื่อช่วยลดปัญหาขยะล้นโลก
8.หลักการและทฤษฎี
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 222)
พ.ศ.2544 บัญญัติไว้ว่า ไอศกรีมเป็นอาหาร ควบคุมเฉพาะ
จะต้องมีคุณภาพมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งวิธีการผลิต เครื่องมือที่ใช้
ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร ภาชนะบรรจุ ตลอดจนฉลากต้องผ่านการตรวจสอบจาก
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาว่ามีความถูกต้องเหมาะสม
จึงจะสามารถผลิตหรือนำเข้าเพื่อ
ออกจำหน่ายได้ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าว ได้แบ่งไอศกรีมเป็น 5 ชนิด
และ กำหนดคุณภาพมาตรฐานของไอศกรีมแต่ละชนิดไว้ดังนี้
1.ไอศกรีมนม ได้แก่
ไอศกรีมที่ทำขึ้นโดยใช้นม หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนม โดยต้องมี มันเนยเป็นส่วนผสมไม่น้อยกว่าร้อยละ
5 ของน้ำหนัก และมีธาตุน้ำนมไม่รวมมันเนยไม่น้อยกว่า ร้อยละ7.5 ของน้ำหนัก
2.ไอศกรีมดัดแปลง ได้แก่
ไอศกรีมนมที่ทำขึ้นโดยใช้ไขมันชนิดอื่นแทนมันเนยทั้งหมด หรือบางส่วน
หรือไอศกรีมที่ทำขึ้นโดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีไขมัน แต่ผลิตภัณฑ์นั้นมิใช่ผลิตภัณฑ์ที่ได้
จากนม และต้องมีไขมันทั้งหมดไม่น้อยกว่าร้อยละ5 ของน้ำหนัก
3.ไอศกรีมผสม ได้แก่ ไอศกรีมนม
หรือไอศกรีมดัดแปลง ซึ่งมีผลไม้หรือวัตถุอื่นที่เป็น อาหารเป็นส่วนผสมอยู่ด้วย
โดยต้องมีมาตรฐานเช่นเดียวกับไอศกรีมนม หรือไอศกรีมดัดแปลง ทั้งนี้ไม่นับรวมน้ำหนักของผลไม้หรือวัตถุที่เป็นอาหารอื่นผสมอยู่ด้วย
4. ไอศกรีมชนิดเหลว หรือแห้ง หรือผง
ได้แก่ไอศกรีมนม ไอศกรีมดัดแปลง หรือไอศกรีม ผสมที่เป็นชนิดเหลว หรือแห้ง หรือผง
นั่นเอง ซึ่งต้องไม่มีกลิ่นหืน มีกลิ่นตามลักษณะเฉพาะของ ไอศกรีมชนิดนั้น
มีลักษณะไม่เกาะเป็นก้อน ไม่มีวัตถุกันเสีย มีความชื้นไม่เกินร้อยละ 5 ของ น้ำหนัก
ไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค
และไม่มีสารพิษจากจุลินทรีย์ในปริมาณที่อาจเป็นอันตราย ต่อสุขภาพ
นอกจากนี้ สมจิต (2555)กล่าวว่า
ไอศกรีมจัดเป็นขนมหวานแช่แข็งที่อุดมด้วยสารอาหาร ต่าง ๆ มีคุณค่าทางอาหาร
มีมาตรฐานและคำจำกัดความเฉพาะ ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้แก่ ไอศกรีม คัสตารด์แช่แข็ง
หวานเย็น เชอร์เบท นมเย็น ไอศกรีมแท่ง frozen dairy confection และ เมลโลรีน ชนิดต่าง ๆ
ของอาหารนมแช่แข็งนั้น มีชื่อเรียกต่างกันแล้วแต่ส่วนผสมและ
ส่วนประกอบของไอศกรีมนั้น ๆ ซึ่งสามารถจำแนกไอศกรีมออกเป็น 12 ชนิด
9.วิธีดำเนินงาน
วัน-เดือน-ปี
|
กิจกรรม
|
ผู้รับผิดชอบ
|
8/11/60
|
จัดการเกี่ยวกับระบบ g-mail ของตัวเอง
|
นิซูฮัยมี
|
15/11/60
|
เริ่มสร้าง Web blog www.blogger.com
|
นิซูฮัยมี
|
22/11/60
|
หาหัวข้อโครงงานตามตัวอย่างจากเว็บไซต์ต่างๆ
|
นิซูฮัยมี
|
29/11/60
|
เพิ่มเติมเนื้อหาในโครงงานแบบเว็บบล็อก
|
นิซูฮัยมี
|
6/12/60
|
หาข้อมูลเพิ่มเติม+เพิ่มเติมเนื้อหาในโครงงานแบบเว็บบล็อก
|
นิซูฮัยมี
|
13/12/60
|
เลือกธีม+ตกแต่งสื่อ
|
นิซูฮัยมี
|
20/12/60
|
ตรวจสอบโครงงานแบบเว็บบล็อก
|
นิซูฮัยมี
|
27/12/60
|
โครงงานเสร็จสมบูรณ์-พร้อมเผยแพร่
|
นิซูฮัยมี
|
10.ขั้นตอนในการปฏิบัติ
- เตรียมอุปกรณ์ ไม้ไอติม , กาว , มีด , สีโปสเตอร์
- ทาสีไม้ไอติมแล้วนำไปตากแดดให้สีแห้ง
-
วางแผนและออกแบบรูปร่างของกล่องดินสอ
-
นำไม้ไอติมมาประกอบเป็นรูปร่างของกล่องดินสอ
11.ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.
ได้ปฏิบัติกิจกรรมตามความถนัดและความสนใจของตนเอง
2.
ได้รับการฝึกทักษะและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
3. ได้รู้จักการนำเศษวัสดุเหลือใช้มาดัดแปลง
ประดิษฐ์ ตกแต่งให้เกิดประโยชน์
12.เอกสารอ้างอิง
กระทรวงสาธารณสุข. (2544).
ประกำศกระทรวงสำธำรณสุข (ฉบับที่222) พ.ศ.2544 เรื่อง ไอศกรีม. แหล่งที่มา: http://www.fda.moph.go.th,
สมจิต
สุรพัฒน์. (2555). ไอศกรีมและผลิตภัณฑ์. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
13.ภาพผนวก(ภาพและกิจกรรมต่างๆ)